ข้อมูลทั่วไป จังหวัดพะเยา

คำขวัญ ประจำจังหวัด
กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม

จังหวัด พะเยา กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม พะเยา เป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งในแถบลานนาไทย เดิมมีชื่อว่า ภูกามยาว หรือ พยาว มีอายุกว่า 900 ปี โดยพ่อขุนศรีจอมธรรม กษัตริย์แห่งราชวงศ์ลัวะจักรราชหิรัญนครเงินยาง เมืองเชียงแสน และเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยพ่อขุนงำเมือง ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตามอิทธิพลของอาณาจักรต่างๆ ที่ผลัดกันมีอำนาจในแถบนี้ จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พยาวเปลี่ยนชื่อเป็นพะเยา และรวมอยู่กับจังหวัดเชียงรายจนในปี พ.ศ. 2520 จึงได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา

พะเยามีเนื้อที่ประมาณ 6,335 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ กิ่งอำเภอภูซาง กิ่งอำเภอกามยาว

  • ข้อมูลการเดินทาง
รถยนต์ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง เส้นทางที่ 1 ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ที่นครสวรรค์ ผ่านอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตาก ผ่านอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 969 กิโลเมตร เส้นทางที่ 2 ใข้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 117 จนถึงพิษณุโลก แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 12 ไปจนถึงสุโขทัย เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 103 ผ่านอำเภอร้องกวาง เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านอำเภองาว เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 782 กิโลเมตร เส้นทางที่ 3 สามารถเดินทางเป็นวงรอบได้โดยใช้เส้นทางกรุงเทพฯ -นครสวรรค์-พิษณุโลก-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-พะเยา ระยะทาง 782 กิโลเมตร ขากลับใช้เส้นทางพะเยา-เชียงราย-แม่สรวย-เวียงป่าเป้า-ดอยสะเก็ด-เชียงใหม่ —ลำปาง-ตาก-กรุงเทพฯ ระยะทาง 966 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมงรถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพงสามารถนั่งรถไฟสายเหนือลงที่ลำปาง หรือเชียงใหม่ แล้วต่อรถโดยสารไปจังหวัดพะเยา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 หรือ http://www.railway.co.thรถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารปรับอากาศและรถธรรมดาออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 สอบถามได้ที่ โทร. 0 2537 8055, 0 2936 2852-66 หรือwww.transport.co.th บริษัท ขนส่ง จำกัด พะเยา โทร. 0 5443 1363 สำหรับรถเอกชนติดต่อบริษัท สยามเฟิร์สทัวร์ โทร. 0 2954 3601, 0 5443 1865 สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 2495-9, 0 5424 6503 จากเชียงใหม่มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดา และปรับอากาศไป-กลับพะเยาทุกวัน ตั้งแต่ 06.00-17.30 น. รถออกทุกๆ ครึ่งชั่วโมง สอบถามได้ที่บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด โทร. 0 5324 6503เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด ไม่มีเครื่องบินบินตรงไปจังหวัดพะเยา ต้องใช้เที่ยวบินกรุงเทพฯ -เชียงราย หรือกรุงเทพฯ – แพร่ จากนั้นต้องเช่าเหมารถมายังจังหวัดพะเยา สอบถามเที่ยวบินได้ที่ 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000, 0 2356 1111 หรือwww.thaiairways.com
  • สถานที่ท่องเที่ยว
วัดศรีอุโมงค์คำ อำเภอเมือง จ.พะเยา
มีพระเจดีย์สมัยเชียงแสนที่มีสภาพสมบูรณ์ เป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยา นามว่า “หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์”วัดพระธาตุจอมทอง อำเภอเมือง จ.พะเยา
นมัสการเจดีย์พระธาตุจอมทอง และยังได้ชมทัศนียภาพอันสวยงามของกว๊านพะเยาจากยอดเขาอุทยานแห่งชาติภูซาง อำเภอแม่ใจ จ.พะเยา
อุทยาน แห่งชาติภูซาง เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดอยผาหม่น อยู่ในเขตกิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นแนวเขตยาวประมาณ 30 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 178,049 ไร่

อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง อำเภอเมือง จ.พะเยา
อดีต กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาวลำดับที่ 9 ระหว่างปี พ.ศ. 1801 – 1841 เป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองมาก ประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพะเยา (สวนสมเด็จย่า 90) หน้ากว๊านพะเยา เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานกับพ่อขุนเม็งรายแห่งเมืองเชียงราย

สถานีประมงน้ำจืดพะเยา และพระตำหนักกว๊านพะเยา อำเภอเมือง จ.พะเยา
ตั้ง อยู่ถนนพหลโยธินระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 734-735 เป็นสถานีเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด มีพิพิธภัณฑ์ปลาบึก แสดงเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ปลาบึกครั้งแรกของโลก โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ที่เลี้ยงไว้ในบ่อดิน ปลาบึกเป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ด ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มที่ยาว 3 เมตร น้ำหนัก 250 กิโลกรัม

ศูนย์อุตสาหกรรมอัญมณี อำเภอเมือง จ.พะเยา
ตั้ง อยู่ริมถนนพหลโยธิน กม.ที่ 723 ตำบลแม่กา ห่างจากตัวเมือง 14 กิโลเมตร จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการอบรมอาชีพด้านอุตสาหกรรมสาขาอัญมณีและ เครื่องประดับ

หอวัฒนธรรมนิทัศน์ อำเภอเมือง จ.พะเยา
อยู่ ใกล้กับวัดศรีโคมคำ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีรูปแบบการตกแต่งสวยงามจัดแสดงโบราณวัตถุ เอกสารข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพะเยา และเรื่องราวความเป็นมาทั้งด้านวรรณกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพะเยา เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวต่างชาติ 40 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท โทร. 0 5441 0058-9

อุทยานแห่งชาติแม่ปืม (ดอยงาม) อำเภอแม่ใจ จ.พะเยา
อุทยาน แห่งชาติแม่ปืม อุทยานแห่งชาติป่าแม่ปืม ได้ดำเนินการสำรวจและจัดตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 มีพื้นที่อยู่ใน จังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ 356 ตารางกิโลเมตร หรือ 222,500 ไร่ โดยมีพื้นที่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยปุย อ.เมือง จ.เชียงราย เนื้อที่ 67,500 ไร่

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า อำเภอปง จ.พะเยา
เริ่ม ดำเนินงานเมื่อ พ.ศ.2530 ในเขตหมู่บ้านปางค่า ต.ผาช้างน้อย เพื่อส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขิ้นและป้องกันปัญหาการบุกรุก ทำลายป่า ตลอดจนส่งเสริมคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ดีขึ้น พื้นที่เป็นภูเขาและเนินเขา อุณหภูมิเฉลี่ย 25.8 องศาเซลเซียส ประชากรประกอบด้วยชนเผ่าม้ง และเผ่าเย้า

ศูนย์พัฒนา วนอุทยานภูลังกา อำเภอปง จ.พะเยา
สัมผัสทะเลหมอก ดอกไม้ป่า พิชิตภูลังกา ภูนม ชมอาทิตย์ขึ้นลง เข้าดงก่อโบราณ กังวาลเสียงนก น้ำตกสวยใส ประทับใจดอกโคลงเคลง

วัดท่าฟ้าใต้ อำเภอเชียงม่วน จ.พะเยา
บน เส้นทางสายปง-เชียงม่วน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2311โดยครูธรรมเสนาและพ่อเฒ่าแสนอัฐิ ผู้นำชาวไทลื้อซึ่งอพยพมาจากสิบสองปันนา ลักษณะตัวพระอุโบสถเป็นทรงเตี้ยก่ออิฐถือปูน

ศูนย์วัฒนธรรมไทยลื้อ อำเภอเชียงคำ จ.พะเยา
ตั้งอยู่ที่วัดหย่วนในอำเภอเชียงคำ

วัดพระเจ้านั่งดิน อำเภอเชียงคำ จ.พะเยา
อยู่ ในตำบลเวียง ไปตามทางหลวง 1148 ห่างจากตัวอำเภอ 4 กิโลเมตร เป็นวัดที่องค์พระประธานของวัดไม่มีฐานชุกชีรองรับเหมือนกับพระประธานองค์ อื่นๆ เคยมีราษฎรสร้างฐานชุกชีเพื่ออัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐาน แต่ปรากฏว่าพยายามยกเท่าไรก็ยกไม่ขึ้น จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน

วัดนันตาราม อำเภอเชียงคำ จ.พะเยา
อยู่ ที่บ้านดอนไชย ไม่ปรากฎว่าสร้างเมื่อไร เป็นวัดที่มีศิลปะแบบไทยใหญ่ ตัววิหารสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังตกแต่งลวดลายฉลุไม้อย่างสวยงามตามส่วน ประกอบต่างๆ เช่น หน้าต่าง หน้าบัน ระเบียง เป็นต้น ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์ธนบัตรเก่า เครื่องใช้โบราณ ผ้าลายโบราณ ภาพวาดโบราณเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเทศน์มหาชาติแต่ละตอน เปิดให้เข้าชมเวลา 08.00 – 18.00 น.

วัดแสนเมืองมา อำเภอเชียงคำ จ.พะเยา
สร้าง ในสมัยรัชกาลที่ 1 ราว พ.ศ.2351 สร้างโดยชาวเมืองมาง มณฑลยูนานที่ถูกเจ้าเมืองน่านกวาดต้อนมาจนกระทั่งมาตั่งถิ่นฐานที่อำเภอ เชียงคำนี้

กว๊านพะเยา อำเภอเมือง จ.พะเยา
กว๊านพะเยา กว๊าน หมายถึง หนองน้ำหรือบึงน้ำขนาดใหญ่ คำนี้มีใช้ในท้องถิ่นล้านนาเฉพาะที่จังหวัดพะเยาแห่งเดียวเท่านั้น

หมู่บ้านทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา อำเภอเมือง จ.พะเยา
อยู่ ที่บ้านสันป่าม่วงใช้เส้นทางเดียวกับทางไปหมู่บ้านทำครกและโม่หิน ห่างกันประมาณ 2 กิโลเมตร ชาวป่าม่วงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มขึ้นทำเป็นงานอดิเรก ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผักตบชวา ได้แก่ หมวก กระเป๋า จานรองแก้ว และของประดับตกแต่งต่างๆ

วัดอนาลโยทิพยาราม อำเภอเมือง จ.พะเยา
ตั้งอยู่บนดอยบุษราคัมห่างจากตัวจังหวัด 20 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข 1 (พะเยา – เชียงราย) ประมาณ 7 กิโลเมตร

วัดศรีโคมคำ อำเภอเมือง จ.พะเยา
เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอย่าง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า วัดพระเจ้าตนหลวง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 16 เมตร สูง 18 เมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2034 – 2067 พระเจ้าตนหลวง หรือ พระเจ้าองค์หลวง

  • วัฒนธรรมประเพณี 

งานประเพณีปู่จากพญานาค (บูชาพระลอ)
จัดบริเวณโบราณสถานเวียงลอ บ้านห้วยงิ้ว อำเภอจุน ในงานมีกิจกรรมพิธีไหว้บรรพบุรุษของเวียงลอ ขบวนแห่และงานแสดงแสงสีเสียง การแสดงทางวัฒนธรรม

งานกาชาดและงานฤดูหนาว 
จัดประมาณปลายเดือนธันวาคม-ต้นเดือนมกราคม ณ บริเวณสนามข้างสถานีขนส่ง จังหวัดพะเยา กิจกรรมจะมีการออกร้านของหน่วยงานราชการ การแสดงทางวัฒนธรรมและการประกวดต่างๆ

งานเปิดโลกอุตสาหกรรมอัญมณี และของดีเมืองพะเยา
ครั้งที่ 3 จัดระหว่างวันที่ 1-5 กุมภาพันธ์ณ ศูนย์อุตสาหกรรมอัญมณี ตำบลแม่กา อำเภอเมือง ในงานมีการแสดงการผลิตเครื่องประดับเงิน ทองคำ การเจียระไนเพชร

งานสืบสานตำนานไทลื้อ
ดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่ 2 ณ วัดพระธาตุสบแวน อำเภอเชียงคำ กิจกรรมจะมีขบวนแห่ การสาธิตศิลปวัฒนธรรมไทลื้อ นิทรรศการ

ใส่ความเห็น